วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

test

ทดสอบการฝึกปฏิบัติของวันนี้

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สอน Google Sites


เจอมาก็เลยมาแบ่งปันกันส่วนภาษาก็แปลกันเอาเองถ้าใครแปลได้ช่วยมาบอกกันหน่อยจักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง


ฝึกปฏิบัติ

ฝึกปฏิบัติการอัพโหลดภาพและข้อความเข้าไปในบล็อก


แหม่!!!!!! อาจารย์ไม่ต้องทำหน้าเครียดก็ได้

นี้ก็อีกภาพที่อาจารย์อาร์ทไปถ่ายมา

ถ่ายมาอย่างเดียวไม่ว่า ให้ตัดอีก

พวกเราทั้งหมด

ภาพโดยอาจารย์อาร์ท...

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Penyanyi: Malique,melayu ku layu

Aku lihat layu dalam Melayu
Aku pasti bukan aku seorang saja yang nampak
Ada juga bercadang bertanya tuan punya
Tapi bercampur risau dengan tak tergamak
Nanti dikata tak bersyukur dikata tak sedar diri
Jadi aku menyendiri memerhati dan akhirnya mengakui
Yang kita sendiri
Membiarkan bunga raya melayu ke kanan
Dan dibiar bunga tak cantik mekar di kiri
Aku lihat layu dalam Melayu
Tanah air kita yang punya
Kita siram kita baja tapi angin api kita lupa
Mereka merancang masa menjilat bangsa
13 harimau bertukar menjadi mangsa
Kita lupa nenek moyang kaya-raya
Jangan sekali-kali digadai harta-bendanya

Ku lihat layu dalam Melayu
Ku lihat layu dalam Melayu
Ku lihat layu dalam Melayu

Takkan Melayu hilang di dunia
Ya tapi apa guna tak hilang di dunia
Kalau kewujudan tidak dirasa


Petah berbahasa kudrat tak berjasa
Orang berbudi kita hanya tahu merasa
Selalu lari bila dirapat
Selalu malu bila soalan diaju
Selalu segan memberi pendapat
Rela mengikut dari meneraju
Belum nyanyi sudah bersorak
Suka berjanji dalam borak
Bukan kata tak ada otak
Cuma tak berfikir di luar kotak

Ku lihat layu dalam Melayu
Ku lihat layu dalam Melayu
Ku lihat layu dalam Melayu

Aku jadi sayu
Bunga menangis dia mendayu
Mahu jadi cantik tetapi ragu
Aku merayu
Bangunlah semula hidup kembali
Jangan tunggu matahari mati
Cepatlah mekar sebelum terlerai

Perjuangan kita belum selesai
Perjuangan kita belum selesai
Perjuangan kita belum selesai

Posted by Picasa

แนะนำหน่อย


ผมนายอับดุลรอมัน ไซละมุ

ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ ต.กาลูปัง อ.รามัน จ.ยะลา จบประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านกาลูปัง จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิยะลา จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิยะลาเข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีเมื่อปี 2549 ณ ตอนนี้ก็ยังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่อีกทั้งๆที่เพื่อนๆรุ่นเดียวกันจบกันหมดแล้ว แต่ไม่เป็นไร ผมยึดหลักคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เจ้าจงเรียนให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แป้ว!!!!!! เอาเป็นว่าแค่นี้ก่อนละกันไปละ...

ความรู้สึกจากหัวใจเด็กปอเนาะพ่อมิ่ง... “ไม่เคยมีใครมองเราในแง่ดีเลย”

อับดุลรอมัน ไซละมุ
กลุ่มบุหงารายา

บทบันทึกอารมณ์ความรู้สึกของนักศึกษากลุ่ม ‘บุหงาราหยา’ หลังลงพื้นที่ปอเนาะพ่อมิ่ง –โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม บ้านพ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี สถานที่ที่ซึ่งไม่เคยได้รับการมองอย่างเข้าใจจากคนของรัฐ อ่านการฝ่าความขมุกขมัวทางความรู้สึกเพื่อมองหาข้อเท็จจริงกรณีคนร้ายกราดยิงใส่ร้านอาหารหน้าโรงเรียนปอเนาะ จนนักเรียนปอเนาะพ่อมิ่งเสียชีวิต 2 คนและบาดเจ็บอีกราย

แดดยามเที่ยงส่องกระทบผิวกายจนแสบร้อน ลมพัดฝุ่นตลบกลางสนามฟุตบอล แต่เมื่อมีเสียงอาซานดังขึ้นและก้องไปทั่วโรงเรียน ‘เด็กปอเนาะ’ ก็ต่างพากันมุ่งหน้าไปสุเหร่าเพื่อปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญยิ่ง นั่นคือการละหมาด


เผยแพร่: amannews.org

ผอ.สงวน อินทรารักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูนราธิวาส: ครูต้องเป็นครู สู้วิกฤติดับแสงเทียนชายแดนใต้

อับดุลรอมัน ไซละมุ

bungarayanews


ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ก่อผลกระทบกับผู้บริสุทธิ์ในวงกว้าง และหลากหลายกลุ่ม แต่กลุ่มที่ได้รับผลต่อเนื่องรุนแรงมายาวนานคือกลุ่มแม่พิมพ์ของชาติ หรือ บุคคลากรในวิชาชีพครูที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ความสูญเสียกระทั่งรวบรวมเป็นสถิติบ่งบอกนัยอะไรหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความหวาดระแวง หวาดหวั่น และความกลัว จนส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการทำหน้าที่แม่พิมพ์ของชาติของเหล่าครูอย่างยิ่ง

อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไรถ้าแม่พิมพ์ของชาติไม่สามารถที่ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์

ต่อปัญหาครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบ ศูนย์ข่าวอามาน ชมรมสื่อสันติภาพได้จัดเวทีระดมสมอง “ครูใต้ – แสงเทียนกลางพายุไฟ: บาดแผล ผลกระทบ และทางออก” ร่วมกับสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส ณ สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา

‘ผอ.สงวน อินทรารักษ์’ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส ได้แสดงทัศนะที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อทางออกของปัญหาครูใต้ หลักการ ‘ครูต้องเป็นครู’ คือนัยยะอันสำคัญที่จะส่งผ่านไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้


เผยแพร่: amannews.org

ย้ำศรัทธาผ่าน ‘อานาซีด’ บทเพลงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

อับดุลรอมัน ไซละมุ
อารีเพ็ง เหย๊ะ
กลุ่มบูหงารายา

ตลอดระยะเวลา 5 ปีของสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สื่อทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นกระแสหลักหรือกระแสรอง หรือแม้แต่สื่อทางเลือก ต่างก็ให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมองข้ามประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเป็น ‘อัตลักษณ์’ ที่สำคัญของคนในพื้นที่ 3 จังหวัด

ในขณะที่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่เหล่านี้ถูกมองข้ามหรือลดความสำคัญลง แต่การเคลื่อนไหวโดยใช้อัตลักษณ์ อันเป็น ‘เกียรติภูมิ’ ที่น่าภาคภูมิใจของคนมลายูมุสลิมเพื่อสร้างสันติภาพ ท่ามกลางเสียงปืน ระเบิด และควันไฟแห่งความรุนแรง ยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในนั้น คือการใช้บทเพลง “อานาซีด” (anasyid) ซึ่งเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะไม่ต่างจากเพลงสตริงและเพลงสากล และยังเป็นบทเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับที่เป็นตัวของตัวเอง เพราะในเนื้อเพลงนั้นจะเน้นในเรื่องของหลักคำสอนในศาสนาอิสลามมาใช้เพื่อเรียกร้องความดีงาม และแทรกเนื้อหาในการแสวงหาสันติภาพ


เผยแพร่: amannews.org

อานาซีด “ร้อยสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องชายแดนใต้”

อับดุลรอมัน ไซละมุ, อารีเพ็น เหย๊ะ
กลุ่มบูหงารายา

จากการรามตัวกันเป็นกลุ่มชมรมอานาซีดหรือ kumpulan anasyid ของเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนมาถึงการจัดโครงการแข่งขันการขับร้องบทเพลงอานาซีดของกลุ่มเยาวชนใน 3 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ภายใต้โครงการ “ร้อยสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องชายแดนใต้”เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม เซคดาวุด อัลฟาฏอนี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การจัดงานในครั้งนี้ทางผู้จัดนั้นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชน ซึ่งเป็นความหวังของคนในครอบครัว ชุมชน และสังคม อีกทั่งยังสามารถให้เยาวชนนั้นได้เรียนรู้ในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาของเยาวชนในการดำเนินชีวิต การเข้าร่วมในสังคม เพราะเยาวชนเหล่านั้นมีศักยภาพ มีพลังอันบริสุทธิ์ที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี


เผยแพร่: amannews.org

เสียงสะท้อนจากชายแดนใต้ บทเรียนการแก้ปัญหาความรุนแรงที่ควรจดจำ

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

หมายเหตุ: บันทึกการถอดเทปรายการฝ่าวิกฤตการเมืองไทยที่กำลังจะเผยแพร่ทางทีวีไทยเร็วๆ นี้ โดยผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ อ.ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยะหา จังหวัดยะลา ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) อ.อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) และคุณละม้าย มานะการ ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ โดยมี อ.ฮาฟิส สาและ เป็นผู้ดำเนินรายการ ทางกองบรรณาธิการ deepsoutwatch.org เห็นว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการเมืองในขณะนี้ที่สามารถสะท้อนบทเรียนความขัดแย้งกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างน่าสนใจ จึงนำมาเผยแพร่เพิ่มเติมอีกช่องทางหนึ่ง


ทำความเข้าใจสงครามความคิด: ความเป็นจริงทางสังคม พื้นที่ทางสังคม และการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อครองอำนาจทางสัญลักษณ์

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

ทั้งในยามปกติและในยามวิกฤต สิ่งที่เราลืมไปก็คือว่า “ความเป็นจริงทางสังคม” ซึ่งเป็นสนามแห่งการสังเกตการณ์ของนักสังคมศาสตร์มีความหมายพิเศษและมีโครงสร้างที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน การกระทำและการคิดของคนที่อยู่ในสังคมนั้นๆ ความหมายในนี้ก็คือว่า สามัญสำนึกและกระบวนการสร้างสามัญสำนึกทำให้คนเราเลือกเอาไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่รู้ตัวที่จะหยิบยกเรื่องราวใดๆ และตีความสิ่งที่เป็นโลกแห่งประสบการณ์ของเราว่ามันเป็นความจริงในชีวิตประจำวัน วัตถุที่เราเห็นและคิดนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นตัวช่วยเข้าใจความจริงทางสังคม แต่ที่แท้แล้วมันถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นมาจากสามัญสำนึกของพวกเราเอง และเราก็จะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้นด้วย ดังนั้น แนวความคิดในทางสังคมที่เราเชื่อจึงมักจะเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์สร้างมาในชั้นที่สอง หรืออาจจะเรียกอีกแบบหนึ่งว่าเป็นการประดิษฐ์สร้างจากสิ่งที่ถูกประดิษฐ์สร้างอีกทีหนึ่งโดยผู้คนที่เป็นตัวแสดงอยู่ในสังคมนั้นๆ


วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กระบี่บาดเลนส์โดย@singfirewire


เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยนับว่าเป็นแหล่งท่องเทียวที่สวยงามอีกที่ในแทบทะเลอันดามัน


ชีวิตประจำวัน

ลากคนเดียวเลยหรือ

อันนี้ซิแจ่ม



กระบี่บาดเลนส์โดย@singfirewire

แนะนำตัวเอง

ผมนายอับดุลรอมัน ไซละมุ
ศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ อ.รามัน จ.ยะลา ตอนนี้อยู่เฉยๆไม่มีไรทำเป็นตัวเป็นตน